ระเบียบโลกอาจอธิบายได้ว่า หมายถึง รูปแบบของกฎเกณฑ์ และกระบวนการที่ตัวแสดงในการเมืองโลก จัดความสัมพันธ์ระหว่างกัน และจัดการกิจการร่วมกัน ซึ่งประกอบสร้างขึ้นจากดุลอำนาจระหว่างตัวแสดงเหล่านั้น และดุลยภาพระหว่างชุดความรู้ความคิด และปทัสถานในปริมณฑลการเมืองโลก ดังนั้น การเปลี่ยนผ่านระเบียบโลก จึงเป็นกระบวนการวิวัฒน์หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของกฎเกณฑ์ และกระบวนการดังกล่าว อันอาจเกิดจากการเปลี่ยนดุลอำนาจ และ/หรือดุลยภาพระหว่างชุดความรู้ความคิด (ดูเพิ่ม Bull, 1977; Wendt, 1992; Kissinger, 2015)

แนวโน้มในอนาคต
สาธารณรัฐประชาชนจีนจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก เศรษฐกิจจีนและประเทศตลาดเกิดใหม่จะมีสัดส่วนเป็นกึ่งหนึ่งของขนาดเศรษฐกิจโลกภายใน ค.ศ.2030 (HSBC, 2018)
สหรัฐอเมริกาจะยังคงเป็นมหาอำนาจทางภูมิรัฐ-ศาสตร์และการทหารที่มีขีดความสามารถสูงสุดหลัง ค.ศ.2030 แต่สาธารณรัฐประชาชนจีนจะมีขีดความสามารถใกล้เคียงสหรัฐอเมริกามากยิ่งขึ้น (Caves Jr. & Carus, 2014, p.5)
ดุลอำนาจจึงจะวิวัฒน์ไปสู่รูปแบบสองหรือสามขั้ว ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และอาจรวมถึงสหภาพยุโรปมากขึ้น
เมื่อสหรัฐอเมริกาสูญเสียสถานะมหาอำนาจนำหนึ่งเดียว แนวคิดแบบเสรีนิยมที่เป็นพื้นฐานของระเบียบระหว่างประเทศอาจเสื่อมอิทธิพล
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีศักยภาพที่จะเป็นตัวแปรสำคัญในการกำกับระดับและ ทิศทางการเปลี่ยนผ่านดุลอำนาจและความคิด (The Future of World Order, 2021)
ระเบียบโลกแบบเสรีนิยมภายใต้การนำของสหรัฐ-อเมริกามีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่ระเบียบโลกแบบกระจายศูนย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งแข่งขันและภาวะโลกหลายระเบียบ (ดูเพิ่ม National Intelligence Council, 2021)
ความขัดแย้งแข่งขันมีนี้โอกาสต่ำที่จะนำไปสู่สงครามหรือการโดดเดี่ยวกันระหว่างสองขั้วอำนาจหลัก เพราะยังคงต่างต้องพึ่งพา/ร่วมมือกัน

ผลกระทบต่อประเทศไทย
กระตุ้นให้เกิดการแข่งขันพัฒนาความสามารถทางทหารและเทคโนโลยี ซึ่งจะยิ่งตอกย้ำความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจและความไม่มั่นคงในโลก แต่อาจเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานวัตกรรม เพื่อเป็นสินค้าหรือเพิ่มผลิตภาพของหน่วยธุรกิจ
ส่งผลให้การประสานความร่วมมือผ่านสถาบันระหว่างประเทศแบบพหุภาคีมีประสิทธิภาพลดลง ประชาคมระหว่างประเทศจึงจะสามารถจัดการปัญหาข้ามพรมแดน ตลอดจนพัฒนาความมั่นคงและความเป็นอยู่ของมนุษย์ได้ยากขึ้น
เป็นอุปสรรคต่อการระงับข้อพิพาทอย่างสันติ หรือผ่านสถาบันระหว่างประเทศที่มีกฎเกณฑ์รองรับ จึงเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตในความ-สัมพันธ์กับต่างประเทศ และความเสี่ยงในการ ค้า การลงทุน และการดำเนินธุรกิจ
ส่งให้รัฐบาลดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างอิสระและรักษาผลประโยชน์แห่งชาติได้ยากขึ้น
เพิ่มความเสี่ยงที่จะถูกรัฐมหาอำนาจโดยเฉพาะสาธารณรัฐประชาชนจีน พยายามแทรกแซงหรือมีอิทธิพลเหนือการเมืองภายในและการกำหนดนโยบายสาธารณะ ส่งผลให้รัฐบาลไม่สามารถพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนได้เต็มที่ +
เมื่อโลกไม่มั่นคงสูง กองทัพอาจมีอิทธิพลในการ-เมืองมากขึ้น บั่นทอนการพัฒนาประชาธิปไตย
เอื้อให้ขบวนการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติเติบโตได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต-ทรัพย์สินของประชาชน