ท้องถิ่นภิวัตน์เป็นกระบวนการที่ท้องถิ่น (locality) ในเชิงภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ ธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และมิติอื่น ๆ มีความสำคัญเพิ่มขึ้น (Greener, 2015) โดยในระดับประเทศ ท้องถิ่นในที่นี้อาจหมายความถึงความเป็นท้องถิ่นที่มีคุณลักษณะและผลประโยชน์เฉพาะตัว แตกต่างจากศูนย์กลางทางเศรษฐกิจการเมือง (the Center) และวัฒนธรรมกระแสหลักของประเทศ

แนวโน้มในอนาคต
อัตลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจะได้ความสนใจและให้ความสำคัญในฐานะที่เท่าเทียมกันกับชุดวัฒนธรรมไทยกระแสหลักซึ่งรัฐบาลในกรุงเทพฯประกอบสร้างขึ้น หรือวัฒนธรรมกระแสหลักของโลกมากยิ่งขึ้น
หน่วยธุรกิจมีแนวโน้มที่จะผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างหลากหลายมากขึ้น ซึ่งก็จะยิ่งกระตุ้นความสนใจและความสำคัญต่ออัตลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่นขึ้นอีก
ประชาชนในท้องถิ่นมีแนวโน้มที่จะเรียกร้องผลประโยชน์เฉพาะถิ่นและการพัฒนาท้องถิ่นเพิ่มขึ้น จึงจะต้องการมีส่วนร่วมในการเมืองและการกำหนดนโยบายมากขึ้น

ผลกระทบต่อประเทศไทย
เพิ่มอุปสงค์ต่อสินค้าท้องถิ่น สินค้าบ่งชี้ทางภูมิ- ศาสตร์ (Geographical Indication, GI) และสินค้าที่สอดคล้องกับรสนิยมท้องถิ่น ส่งผลให้ธุรกิจท้องถิ่นสามารถเติบโตและขยายตลาดได้มากยิ่งขึ้น แต่ก็อาจดึงดูดให้บรรษัทใหญ่เข้ามาแข่งขันในตลาดสินค้าเหล่านี้เพิ่มขึ้นด้วย
ลดอุปสงค์ต่อสินค้าอุตสาหกรรมแบบผลิตจำนวนมากลง ผู้ผลิตสินค้าประเภทนี้จึงอาจต้องปรับตัวไปผลิตสินค้าสำหรับผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มและผลิตตามคำสั่งซื้อมากขึ้น ซึ่งจะต้องการเทคโนโลยีและแรงงานทักษะขั้นสูงเพิ่มขึ้น
ส่งเสริมสิทธิของคนท้องถิ่น และความเท่าเทียมระหว่างความเป็นท้องถิ่นกับความเป็นศูนย์กลาง
กดดันให้รัฐบาลในกรุงเทพฯ ต้องรับฟังความ เห็นของกลุ่มผลประโยชน์ท้องถิ่นในกระบวน การนโยบาย กำหนดนโยบายแบบเฉพาะพื้นที่ ดำเนินนโยบายผ่านการปรึกษาหารือกับท้องถิ่น ตลอดจนกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมากขึ้น
เพิ่มโอกาสการทุจริตในระดับท้องถิ่น หากขาดการพัฒนากลไกการตรวจสอบถ่วงดุลและรับผิด
แนวคิดทางการเมืองแบบท้องถิ่นนิยมจะมีอิทธิพลและระดมความสนับสนุนได้มากขึ้น ขณะที่แนวคิดชาตินิยมกรุงเทพฯ จะมีอิทธิพลลดลง ภายใต้บริบทเช่นนี้ในระยะยาว หากท้องถิ่นไม่ ได้รับความเท่าเทียมและการตอบสนองจากส่วนกลางอย่างเหมาะสม ขบวนการทางการเมืองแบบท้องถิ่นนิยมก็จะเรียกร้องสิทธิและอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้น