กลุ่มคนที่เกิดในช่วงต้นของปี ค.ศ. 1980s จนถึงปลาย ค.ศ. 1990s (ราว ๆ พ.ศ. 2520 – 2530) เป็นกลุ่มคนกึ่งกลางระหว่างรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ กำลังอยู่ในวัยทำงาน ใช้ชีวิตเพื่อการทำงาน การบริโภค และใส่ใจกับสุขภาพรวมถึงเรื่องทางการเมืองการปกครองของประเทศ (นิตยาภรณ์ มงคล, 2563) (Dimock, 2019)

แนวโน้มในอนาคต
ประชากรโลกกว่า 23% คือ Generation Y และคน Generation Y นั้นอยู่ในทวีปเอเชียมากที่สุดในโลกถึง 24% มีแนวโน้มจะเป็นแรงงานและผู้บริโภคกลุ่มสำคัญ (Millennials: Demographic Change and the Impact of a Generation, 2020)
สำหรับประเทศไทย คน Gen Y จะเป็นแรงงานกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยในปี 2560 กลุ่ม Gen Y ที่อยู่ในวัยแรงงานมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 43.6 และในอีก 20 ปี ข้างหน้า จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 ของตลาดแรงงาน จะเป็นกลุ่มสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและดูแลสังคมผู้สูงอายุ (ประชากรไทย GenY ใหญ่สุด พฤติกรรมสร้างโอกาส-ความเสี่ยง(1), 2560)

ผลกระทบต่อประเทศไทย
ธุรกิจด้านสุขภาพ ความเป็นอยู่ และการดูแลตนเองขยายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจความงาม (Biron, 2019)
ธุรกิจ D2C (Direct to Customer) มักทำการตลาดบนแพลตฟอร์มอย่าง Instragram, snapchat, Tiktok เพราะเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนี้ได้ง่าย เนื่องจากคน Gen Y ถนัดและมีอัตราการใช้โซเชียลมีเดียสูง (เจาะเทรนด์โลก 2021 : Reform This Moment, 2563, p. 18)
แรงงานการศึกษาสูงเข้าสูงตลาดแรงงานมากขึ้น (ร้อยละ 19 ของแรงงานในกลุ่ม Gen Y มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 35 จบการศึกษาระดับ ปวช. และ ปวส. (10 ลักษณะคน Gen Y กำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ, 2563) แต่ประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มจะขาดแคลนแรงงานทักษะสูงในสาขาที่ต้องการ โดยตลาดต้องการแรงงานสายเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์สาขาต่าง ๆ รวมถึงการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล แต่แรงงานที่เข้าสู่ตลาดไม่ได้เรียนจบหรือมีทักษะในสาขาที่ตลาดต้องการ (ทิวา ดอนลาวและคณะ, 2021)
ประชากรจะยังคงลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากคน Gen Y ไม่ใส่ใจการแต่งงานมีครอบครัว หรือหากมีครอบครัวก็วางแผนการมีลูกเพียงน้อยคนเท่านั้น เป็นการเร่งให้สังคมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
Gen Y มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลสูง ทำให้มีความใส่ใจต่อปัญหาบ้านเมืองและเป็นกลุ่มคนที่กล้าตั้งคำถามต่อระบบที่มีมานาน