งานชั่วคราว งานที่รับจ้างเป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่ในการคาดการณ์ปัจจัยอนาคตนี้จะเน้นถึง แรงงานดิจิทัล ที่อาศัยแพลตฟอร์มออนไลน์ในการรับงานหรือจับคู่ความต้องการ (Emma Charlton, 2021)

แนวโน้มในอนาคต
ประเทศไทยมีแนวโน้มจะพัฒนาต่อเรื่อย ๆ ผลสำรวจของอีไอซี (EIC) ระบุว่าสัดส่วนของคนทำงานอิสระหรือ Gig Worker นั้นคิดเป็น 30% ของคนวัยทำงาน (แอดมิน, 2563) นอกจากนี้ 86% ของคนไทยที่ทำงานประจำอยากลาออกมารับงาน gig work (กัลยรักษ์ นัยรักษ์เสรี, 2560)
ในระดับโลก โดยเฉพาะฝั่งตะวันตก gig economy เติบโตสูงมาก ปี 2021 คาดว่า ขนาด Global Gig Economy จะมีมูลค่าถึง 347 พันล้านดอลลาร์ (Kris Broda, 2021)
Gig Economy มีแนวโน้มว่าจะเติบโตต่อไป บริษัทหลายแห่งต้องพึ่งพา gig workers และมีแนวโน้มที่จะหันไปจ้าง gig workers มากขึ้นเพื่อประหยัดงบประมาณและเพื่อให้ได้คนที่มีความสามารถตรงกับงานที่มีความเฉพาะทางมากขึ้น (เก็ทลิงค์, 2562) นอกจากนี้ยังช่วยให้มีข้อได้เปรียบในเรื่องของเวลาที่จำกัด โดยงานเร่งด่วนบางงานต้องการคนที่ทำงานได้หลังเวลาเลิกงานปกติบริษัทด้านเทคโนโลยีชั้นนำจำนวนมากในSilicon Valley สหรัฐอเมริกาก็กำลังต้องพึ่งพากำลังงานจาก gig worker เพื่อให้ทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง (The Future of the Gig Economy, 2020)

ผลกระทบต่อประเทศไทย
การทำงานรูปแบบใหม่จะเข้ามาแทนที่งานแบบดั้งเดิมมากขึ้น คนจำนวนมากอาจจะเลิกทำงานประจำ/งานออฟฟิศ มาทำ digital gig work แทน การทำงานในรูปแบบใหม่ที่ที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นกลายเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ต้องผูกติดกับการทำงานแบบเดิมที่ต้องเข้าออฟฟิศ
เกิด Entrepreneurship กระจายไปทุกที่ เนื่องจากการทำงานแบบ gig work ทำให้การจ้างงานเป็นไปได้ง่ายขึ้นและประหยัดต้นทุน รวมถึงทำให้การใช้เทคโนโลยีที่กลายเป็น norms ในชีวิตประจำวัน เหล่านี้จึงทำให้การตั้ง startup และธุรกิจเล็ก ๆ ของตัวเองเป็นไปได้ง่ายขึ้น (Bond & Forum for the Future, 2017) เกิดวิธีการทำงานแบบกระจายจากศูนย์กลางไปในทุกระดับของเศรษฐกิจ
กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต้องเผชิญความท้าทายในการแก้ปัญหาช่องว่างทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน
แพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมของลูกค้า ย่อมมีแรงงานที่ทำงานด้วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากแรงงานต้องพึ่งหาแพลตฟอร์มอย่างมากในการหางาน นำไปสู่การมีอำนาจต่อรองเหนือกว่าแรงงานและเหนือกว่าแพลตฟอร์มคู่แข่ง จนกลายเป็นแพลตฟอร์มเพียงเจ้าเดียวในตลาด
ประชากรวัยทำงานมีความไม่มั่นคงทางการเงินมากขึ้น ไม่ได้รับการคุ้มครองในฐานะพนักงาน ไม่ได้รับสวัสดิการ ซึ่งเป็นปัญหาในหลายประเทศทั่วโลก (อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ & เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร, 2561)