แผนพัฒนาดิจิทัลฯ และการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน – ในมุมมองของผู้ประกอบการ (คุณอมฤต ฟรานเซน)

ภาคเอกชนเป็นหนึ่งในตัวแสดงที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล มีผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของประชาชนในหลายมิติ เช่น บริการการเงินดิจิทัล (FinTech) เทคโนโลยีด้านการศึกษา (EdTech) เทคโนโลยีด้านสุขภาพ (HealthTech) ไปจนถึงคอนเทนต์บันเทิง (Lifestyle & Entertainment)
จึงเป็นที่มาของคำถามว่า ภายใต้แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (2561 – 2565) ภาครัฐได้ทำหน้าที่ส่งเสริมการสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่ภาคเอกชน และกำกับดูแลให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมดีพอแล้วหรือยัง
.
ในช่วงหนึ่งของงานเสวนา ‘เหลียวหลัง แลหน้า การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม’ คุณอมฤต ฟรานเซน ตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการดิจิทัล ให้ความคิดเห็นว่า…
“…กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนดโดยภาครัฐมีข้อจำกัด เพราะผู้ประกอบการที่อยู่ในไทยต้องทำตามกติกาของประเทศไทย แต่ในทางกลับกันดิจิทัลมันไม่มีพรมแดน เราก็จะเห็นว่ามันมีความเสียเปรียบเกิดขึ้น อย่างสมมติว่าถ้ามีแพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตฯ เข้ามา ใครจะเปิดบัญชีกับเขาก็เปิดได้เลย เงินไหลออกไปข้างนอกหมด ไม่ต้องมีใบประกอบกิจการฯ แล้วก็สามารถมาแข่งขันได้เหมือนอยู่ในไทย ขณะที่ผู้เล่นรายอื่นที่อยู่ในไทยต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่เรกูเลเตอร์กำหนดไว้ มันก็จะเห็นข้อเสียเปรียบอย่างชัดเจน อันนี้คือยกตัวอย่างของคริปโตเคอร์เรนซี แต่จริง ๆ มันเป็นอย่างนี้กับทุกอุตสาหกรรมเลย…”
เชิญรับชมคลิปเต็ม ๆ “แผนพัฒนาดิจิทัลฯ และการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันฯ” ได้ที่
.
= = = = = = = = = =
อ่านบทความอื่น ๆ และสนใจปรึกษาข้อมูลแนวคิดการมองอนาคตเพิ่มเติมได้ที่
Facebook Fanpage : FuturISt@NIDA
Blockdit : FuturISt@NIDA (blockdit.com)
Line : @futurist